.:::: Lecture ::::.

เนื้อหาในบทเรียน


บทที่ 2


การพัฒนาเว็บไซต์




จัดระบบโครงสร้างข้อมูล(Information Architecture)
         การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลเป็นพื้นฐานในการออกแบบเว็บไซท์ที่ดี ได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ ระบบการทำงานแบบจำลอง ระบบเนวิเกชัน และอินเตอร์เฟสของเว็บดังนั้น การจัดระบบโครงสร้างข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ในกระบวนการออกแบบเว็บไซต์การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล คือการพิจารณาว่า เว็บควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย เนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น นำมาจัดกลุ่มให้เป็นระบบ

Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง

Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา

Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)6. จัดระบบข้อมูล7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน

Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย

Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)11. ลงมือพัฒนาเว็บ12. เปิดเว็บไซท์13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง

***********************************************************************************************************

บทที่ 3

ออกแบบเพื่อผู้ใช้

ตัวอย่างเป้าหมายของเว็บทั่วไป ได้แก่
       
-เพิ่มรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการอย่างสมบูรณ์
       -สร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง
       -โปรโมทสินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
       -ลดค่าใช้จ่ายด้านการพิมพ์หรือการโฆษณา
       -เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่  เพื่อขยายฐานลูกค้า
       -ลดปริมาณโทรศัพท์ ในการตอบคำถามลูกค้า
       -สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน

ทำไมผู้ใช้จึงอยากเข้ามาในเว็บคุณ?
          การรวมความต้องการของหน่วยงานเข้ากับความต้องการของผู้ใช้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของเว็บไซต์ และเป็นแนวทางสำคัญในการกำหนดเนื้อหาและฟีเจอร์ต่างๆ ของเว็บต่อไป

ความต้องการของหน่วยงาน V.S.ความต้องการของผู้ใช้
       เว็บท่า : ต้องการรวมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในเว็บของตนเพื่อเป็นศูนย์กลางความบันเทิง ข่าวสาร และสาระต่างๆ  ขณะที่ผู้ใช้อาจต้องการเพียงเข้าไปค้นหาลิงค์ ของเว็บที่สนใจ  เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์เหล่านั้น เว็บ
       ธุรกิจ : ต้องการปรับตำแหน่งของบริษัทให้มี ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น โดยอาศัยการออกแบบที่สวยงามและเน้นถึงกลยุทธ์ใหม่ของบริษัท ขณะที่ผู้ใช้อาจไม่ สนใจสิ่งเหล่านั้น ต้องการเพียงข้อมูลของสินค้าเท่านั้น


วิธีการในการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้        
1. สอบถามจากผู้ใช้
        
2. ทดสอบการใช้งานจากผู้ใช้ คัดเลือกผู้ใช้แต่ละกลุ่มทดลองใช้งานเว็บของคุณ
        3. สังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ จากข้อมูลทางสถิติจากเว็บเซิร์ฟเวอร์(traffic log)ทำให้ทราบลักษณะการใช้งาน
********************************************************************************


บทที่ 9
ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
 Designing Web Graphics



                กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยางหนึ่งของเว็บเพจ ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูชมยิ่งขึ้น
                    ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับการสร้างกราฟฟิกคือ การเลือกใช้รูปแบบรากฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป โดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปแบบกราฟฟิก ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะไม่สมบูรณ์และมีไฟล์ใหญ่เกินความจำเป็น

                          รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ (GIF,JPG และ PNG)

             GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format

 

     -ได้รับความนิยมในยุคแรก
-มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด บิต ทำให้มีสีมากสุด 256สี
-มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น

                  JPG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group


     -มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color) สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7ล้านสี
-ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)

-ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด


             PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphic

 
     -สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง บิต 16 บิต และ 24 บิต
-มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless)
-มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma) และความโปร่งใส(Transparency)ในตัวเอง